39B56SH8RDN9
หากใครยังไม่ได้อ่าน ตามไปอ่านได้ที่
วิธีออกกำลังกายให้ถูกหลัก ตอนที่ 1
มาต่อกันเลยดีกว่า
6. เลือกวิธีการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับตัวเอง
- สำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ควรหลีกเลี่ยงหรือหากจำเป็นให้ระมัดระวังในกิจกรรมที่หนัก หรือต้องใช้แรงปะทะมากเพราะอาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บได้ง่าย แต่หากตั้งใจจะทำกิจกรรมรูปแบบดังกล่าวจริงๆ ควรเริ่มที่ระดับความหนักน้อยๆก่อน แล้วจึงค่อยๆเพิ่มความหนักขึ้นโดยช้าๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป
วิธีออกกำลังกายให้ถูกหลัก ตอนที่ 1
มาต่อกันเลยดีกว่า
6. เลือกวิธีการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับตัวเอง
- สำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ควรหลีกเลี่ยงหรือหากจำเป็นให้ระมัดระวังในกิจกรรมที่หนัก หรือต้องใช้แรงปะทะมากเพราะอาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บได้ง่าย แต่หากตั้งใจจะทำกิจกรรมรูปแบบดังกล่าวจริงๆ ควรเริ่มที่ระดับความหนักน้อยๆก่อน แล้วจึงค่อยๆเพิ่มความหนักขึ้นโดยช้าๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป
7. ควรมีวันหยุดพักที่ไม่ได้ออกกำลังกาย
- หนึ่งสัปดาห์ควรออกกำลังกายแบบหนัก ไม่เกิน 4-5 วัน
- เพื่อให้ร่างกายได้มีเวลาในการปรับตัวต่อความเหน็ดเหนื่อยและความเครียดที่เกิดขึ้น แล้วทำให้ร่างกายได้พักฟื้นและซ่อมแซมกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกาย
8. ให้ทำการอบอุ่นร่างกาย (Warn up) ทุกครั้งก่อนออกกำลังกาย และผ่อนหยุด(Cool down) และยืดกล้ามเนื้อภายหลังการออกกำลังกาย
9. ระมัดระวังไม่ออกกำลังกายจนมากเกินไป สังเกตได้จากอาการต่อไปนี้
9.1 ไม่สามารถออกกำลังกายจนจบได้
- ที่ถูกต้องนั้น เมื่อออกกำลังกายเสร็จสิ้นแล้วร่างกายควรที่จะยังมีแรงเหลือที่จะออกกำลังกายต่อได้
9.2 ไม่สามารถที่จะพูดคุยในขณะออกกำลังกาย เนื่องจากมีอุปสรรคจากการหายใจ
- แสดงว่าการออกกำลังกายนั้นหนักเกินไป
9.3 คลื่นไส้ หน้ามืดเป็นลมหลังออกกำลังกาย
- เกิดจากการออกกำลังกายที่หนักไป หรือหยุดออกกำลังกายกระทันหันเกินไป คือใช้เวลา Cool down ไม่เพียงพอ
- ที่ถูกต้องแล้วควรมีความรู้สึกกระปรี้กระเปร่า หากยังมีความรู้สึกเหนื่อยแปลว่าความหนักในการออกกำลังกายอาจมากเกินไป
9.5 นอนไม่หลับ
- ถ้าไม่สามารถนอนหลับได้ทั้งๆที่มีความรู้สึกเหนื่อยหมดแรง ควรลดปริมาณการออกกำลังกายลงจนกระทั้งอาการนั้นหายไป
ขอขอบคุณ กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ติดตามตอนที่ 3 ได้ในวันถัดไปนะครับ
ตอบลบ